แน่นอนว่าการก่อสร้างนั้นมีหลายขนาด แต่แตกต่างกันตรงที่โครงสร้างการบริหาร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะหากเริ่มต้นผิดก็จะทำให้ต้องเสียเวลาในการรื้อถอนหรือแก้ไขใหม่ทั้งหมด เราจึงขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างบริหารประเภทต่าง ๆ มาให้คุณได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ

ระบบโครงสร้างการบริหารโครงการก่อสร้างมีกี่ประเภท

โดยหลัก ๆ มีทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างบริหารเต็มรูปแบบ Full CM 

เป็นรูปแบบที่ช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะผู้รับเหมาขาดแคลน แต่การดำเนินการในลักษณะนี้ต้องผ่านการร่วมมือกันระหว่างเจ้าของโครงการและ CM เพราะทั้งสองฝ่ายทำงานแบบพึ่งพาอาศัยกัน ขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปไม่ได้ โดยแบ่งหน้าที่ ดังนี้

  • เจ้าของโครงการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินและบริหารการก่อสร้าง เพื่อให้สามารถผลิตงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • CM มีหน้าที่ในการหาเงินและหางาน ที่เอื้อให้โครงการก่อสร้างประสบผลสำเร็จและผลิตผลงานคุณภาพ

2. โครงการแบบจ้างบริหารการก่อสร้างทั้งโครงการ

เป็นการผลึกกำลังระหว่าง CBM : Construction Business Management และ CPM : Construction Process Management เพื่อควบคุมทิศทางการก่อสร้างให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ด้วยการประสานงานอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ

3. โครงการใหญ่ต้องการควบคุมแต่เริ่มแรก 

เจ้าของที่รับผิดชอบโครงการสามารถควบตำแหน่ง CBM หรือ Construction Business Management ในการบริหารจัดการธุรกิจ ภาษี บัญชีการเงินและการตลาด และอื่น ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของส่วนธุรกิจ ส่วนด้านการก่อสร้างจะมี CM คอยคุมงาน

4. โครงสร้างแบบเอกชนทั่วไป

ขั้นตอนในการดำเนินการจะว่าจ้างผู้รับเหมาแยกส่วนกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยจ้าง CM เข้ามาแทนที่ผู้ควบคุมงาน มีจุดประสงค์เพื่อการบริหารงานและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. โครงสร้างแบบข้าราชการ

จะดำเนินการบริหารโดยมีการจ้างผู้ควบคุมงานมาคุมงาน หากมีปัญหาสามารถสอบถามผู้ออกแบบได้โดยตรง 

6. โครงสร้างแบบธรรมดา 

เจ้าของบ้านสามารถว่าจ้างทั้งผู้ออกแบบและผู้รับเหมาได้ด้วยตัวเองโดยตรง โดยผู้ออกแบบมีหน้าที่ในการช่วยดูแลงานก่อสร้างบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่โครงสร้างในลักษณะนี้ใช้สำหรับการสร้างบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก

อย่างไรก็ตามโครงสร้างในการบริหารโครงการก่อสร้างแต่ละประเภทที่เรากล่าวไปข้างต้นนั้น เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในจุดประสงค์ที่ค่อนข้างต่างกัน ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับเหล่าบรรดาผู้รับเหมาและผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการบริหารตลอดทั้งการดำเนินการจะเป็นไปอย่างราบรื่นและทำผลงานออกมาได้ตอบโจทย์ความต้องการ ทั้งมีผลในด้านการลดความเสียหายและประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างได้ด้วย

หวังว่าระบบโครงสร้างการบริหารโครงการก่อสร้างที่เรากล่าวไปข้างต้น จะมีประโยชน์ทำให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับระบบการก่อสร้างว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับคนที่ต้องการขวนขวายหาความรู้และคนที่ต้องทำงานในสายนี้